วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สมัยประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์
     ใปันจจุบันองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดอายุยุคสมัยเพิ่มขึ้นมาอีก 1 สมัย เรียกว่า สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ (Protohistorical Period) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มนุษย์ในสังคมนั้นยังไม่รู้จักใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวของตนเองแต่มีผู้คนจากสังคมอื่นซึ่งได้เดินทางผ่าน และได้บันทึกเรื่องราวถึงผู้คนเหล่านั้นไว้

สมัยประวัติศาสตร์

    สมัยประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ในสังคมนั้นรู้จักการเขียน มีตัวอักษรสำหรับใช้จดบันทึก ทำให้ชนรุ่นหลังสามารถเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ในอดีตได้ ทั้งนี้แต่ละสังคมจะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน การศึกษาประวัติศาสตร์สากลมีความแตกต่างกันระหว่างการศึกษาประวัติศาสตร์ตะวันออกกับประวัติศาสตร์ตะวันตก โดยประวัติศาสตร์ตะวันออกแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์หรือศูนย์กลางอำนาจเป็นเกณฑ์ เช่น ประวัติศาสตร์จีน ใช้เกณฑ์ช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ในการแบ่งยุคสมัย ขณะที่ประวัติศาสตร์ตะวันตกใช้เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัย

การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ตะวันออก
     ในการแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันออกจัดแบ่งไปตามภูมิภาคต่างๆ เนื่องจากประวัติศาสตร์อารยธรรมของแต่ละภูมิภาคจะมีลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละภูมิภาคมีการจัดหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยต่อไปนี้
การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ตะวันออก
1.การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน แนวความคิดในการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีนใช้พัฒนาการทางอารยธรรมและช่วงเวลาที่ราชวงศ์ต่างๆ มีอำนาจในการปกครอง เป็นหลักเกณฑ์ในการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน ซึ่งสามารถแบ่งยุคสมัยออกได้เป็นประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (1570 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 220) ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง(ค.ศ. 220 - 1368) ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่(ค.ศ.1368 -1911) และประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1911-ปัจจุบัน)
2.การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดียใช้หลักเกณฑ์พัฒนาการของอารยธรรมอินเดียและเหตุการณ์สำคัญเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ ดังนั้น ประวัติศาสตร์อินเดียจึงแบ่งยุคสมัยออกเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ โดยแต่ละยุคสมัยจะมีการแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์หรือชนกลุ่มต่างๆที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียในขณะนั้น
ช่วงเวลาการวางพื้นฐานของอารยธรรมอินเดียเริ่มตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุของพวกดราวิเดียนเมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500  ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาของการเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการคิดค้นและก่อตั้งศาสนาต่างๆ ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า สมัยพระเวท(1,500-900 ปีก่อนคริสต์ศักราช )



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น